ยินดีต้อนรับ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการเรียน
  
  สอบนอกตาราง ข้อสอบจำนวน 3 ข้อ 15 คะแนน

ครั้งที่ 15


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปบบทเรียน
 อาจารย์ให้นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง ศูนย์การศึกษาราชภัฎพิบูลย์สงคราม
สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่
2. ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก
3. ทักษะภาษา
4. ทักษะทางสติปัญญา
5. ทักษะการช่วนเหลือตนเอง

ครั้งที่ 14


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557


**  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์พาพี่ปี 4 ออกค่ายอาสา
**ค้นคว้าเพิ่มเติม


ในปัจจุบัน เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาร่วมในโปรแกรมการบำบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์อย่างลงตัว
พัฒนาหุ่นยนต์พยายามเพิ่มบทบาทหน้าที่ใหม่ให้หุ่นยนต์ ให้สามารถปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยได้ ช่วยผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ให้สามารถขยับร่างกาย และดูแลตัวเองได้ แทนการว่าจ้างพยาบาลพิเศษ
การบำบัดด้วยสัตว์ อาจนำมาใช้ไม่ได้ในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ หรือติดเชื้อง่าย จึงมีแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้ทดแทนเช่นกัน

แนวคิดของหุ่นยนต์บำบัด
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจจากเด็กๆ ทั่วไปรวมทั้งกลุ่มเด็กออทิสติกด้วย หลายหน่วยงานวิจัยจึงริเริ่มทดลองนำหุ่นยนต์มาเป็นตัวสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีอาการผิดปกติ หลายคนเชื่อว่าหุ่นยนต์ของเล่นให้ความเป็นกันเองและความอุ่นใจต่อเด็กๆ มากกว่าผู้ใหญ่รอบข้างเสียอีก
คุณลักษณะที่มีความจำเป็นในการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานในเด็กพิเศษ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1) ความน่าสนใจ หุ่นยนต์ควรมีความน่าสนใจ มีลูกเล่นหลายๆ อย่าง ได้แก่ ระบบแสง สี เสียง การเคลื่อนไหว การตอบสนอง การควบคุม พบว่าเด็กให้ความสนใจต่อพฤติกรรมของหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์
2) ความคงทนและแข็งแรง เนื่องจากอาจมีพฤติกรรมของเด็กที่ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ทุบตีตนเองหรือผู้อื่น พบว่าเด็กมีการทุบตี ขว้างปา ดึง หุ่นยนต์ จึงทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
3) มีการตอบสนองต่อสัมผัส เสียง แสง และการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
การสัมผัสเป็นสิ่งสำคัญในการเล่นและการเรียนรู้ของเด็ก ควรติดตั้ง Touch Sensors เพื่อให้หุ่นยนต์ตอบสนองต่อลักษณะการสัมผัสได้อย่างถูกต้อง และเป็นธรรมชาติ
เสียงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก เป็นสิ่งที่สื่อถึงอารมณ์ของเด็ก การติดตั้งระบบรู้จำเสียงและระบบตอบสนองต่อเสียง หุ่นยนต์จะสามารถหันตามเสียง รวมทั้งเป็นตัวรับคำสั่งเสียงจากผู้ใช้ และแสดงพฤติกรรมตามคำสั่งของผู้ใช้ได้
หุ่นยนต์ที่มีระบบการรับรู้แสง จะช่วยให้รับรู้เวลา กลางวัน หรือกลางคืน ช่วยให้แสดงพฤติกรรมได้สัมพันธ์กับสถานการณ์ และเวลา เป็นธรรมชาติมากที่สุด
การเคลื่อนไหวเป็นส่วนสำคัญของหุ่นยนต์ พบว่าเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของหุ่นยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหว ดังนั้นหุ่นยนต์บำบัดจึงควรมีระบบการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องตามสรีระ
4) น้ำหนักและขนาด เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หุ่นยนต์ขนาดใหญ่มากจะเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของเด็ก รวมถึงนำหนักที่มากยังส่งผลให้เด็กไม่สามารถอุ้มเล่นได้ ซึ่งหากเด็กเล่นหุ่นยนต์ได้ลำบาก จะเกิดความคับข้องใจขึ้น จนอาจส่งผลถึงช่วงความสนใจของเด็ก
5) การควบคุม ควรใช้งานง่าย มีการติดตั้งสวิตซ์ควบคุมที่ตัวหุ่นยนต์ หรือต่อสวิตซ์ออกมาภายนอกเป็นสวิตซ์เดี่ยว เพื่อให้เด็กสามารถกดควบคุมการทำงานได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลกระตุ้นให้เด็กมีช่วงความสนใจในการเล่นกับหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เล่นสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของหุ่นยนต์บำบัด
นักวิจัยได้ทดลองนำเอาหุ่นยนต์มาช่วยดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการ เด็กออทิสติก และผู้สูงอายุ พบว่าได้ผลดี
โดยทั่วไปมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบำบัด ดังนี้
1) เพื่อช่วยดูแล ทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองพิการ
ศูนย์แพทย์ทหารผ่านศึกในบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา ได้จัดโปรแกรมให้ผู้ป่วยอัมพาต ทำกายภาพบำบัดแบบปกติ ร่วมกับการเล่นเกมวิดีโอง่ายๆ โดยมีหุ่นยนต์คอยช่วยพยุงให้เขาเคลื่อนไหวแขน และมือซ้ำๆ จนผู้ป่วยเริ่มควบคุมคันบังคับเกม คว้าและปล่อยปุ่มบังคับได้ดีขึ้น พบว่าผู้ป่วยมีพัฒนาการบังคับกล้ามเนื้อดีขึ้นกว่าการทำกายภาพแบบที่ปฏิบัติกันอยู่
2) เพื่อกระตุ้นความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นประสาทสัมผัสในผู้ป่วยออทิสติก ถึงแม้เด็กจะไม่ได้สนใจหุ่นยนต์ตลอดเวลา แต่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาชอบพวกสิ่งของกลไกที่ทำอะไรซ้ำไปซ้ำมา
3) เพื่อกระตุ้นความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
4) เพื่อดูแลและเสริมสร้างความผ่อนคลายในผู้สูงอายุ ในเมืองพิตส์เบิร์ก นักวิจัยใช้หุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า เนิร์สบอต ดูแลผู้สูงอายุ โดยทั่วไปคนมักจะคิดว่าผู้สูงอายุจะหวาดกลัวเทคโนโลยี แต่ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุชอบหุ่นยนต์ แต่สิ่งที่พวกเขาวิตกมากกว่าคือ หุ่นยนต์ยังไม่สามารถช่วยพวกเขาได้มากพอ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( เนคเทค ) ร่วมกับสถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เริ่มทดลองนำหุ่นยนต์แมวน้ำ Paro มาช่วยบำบัดเด็กออทิสติก เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการจ้องมอง การสัมผัสวัตถุ และการเปล่งเสียง ซึ่งยังไม่เห็นความแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ

ครั้งที่่ 13


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 30 มกราคม 2557

 
สรุปบทเรียน
  การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 1. เด็กดาวซินโดม
-รักษาตามอการ
-แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมมือ
ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวม
 1. ด้านสุขภาพ
     บิดา มารดา พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
 2. ส่งเสริมพัฒนาการ
     สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
 3. การดำรงชีวิตประจำวัน
     ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
 4. ฟื้นฟูสมรรถภาพ
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางศึกษาโดยทำแผนการศึกษาเฉพาะบุุคคล
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะ การสำรวจการดำรงชีวิตประจำวัน
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
  การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
  - ยอมรับความจริง
-เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การตรวจสอบภายใน ตรวจมะเร็งปากหมดลูก และเต้านม
- การคุมกำเนิดและทำหมัน
- การสอนเพศศึกษา
 การส่งเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาการทักษะต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ และ ภาษ
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนรวม
- ลดปัญหาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 

ครั้งที่ 12


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 23 มกราคม 2557


สรุปบทเรียน
  นักศึกษาออกมานำเสนองานต่อจากครั้งที่ 10

ครั้งที่ 11


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 16 มกราคม 2557

 ** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง

 งานที่ได้รับมอบหมาย
 อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำการหางานวิจจัย 1 เรื่อง โดยมีหัวข้อดังนี้
1. ชื่องานวิจัย / ชื่อผู้วิจัย / มหาวิทยาลัย
2. ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
6. ประชาการ / กลุ่มตัวอย่าง
7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8. การดำเนินการวิจัย
9. สรุปผลวิจัย


ครั้งที่ 10


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 9 มกราคม 2557


สรุปบทเรียน
เพื่อนออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน







และในรหว่างที่ฟังเพื่อนนำเสนองานอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาประเมินเพื่อน

ครั้งที่ 9

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 2 มกราคม 2557

** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่


ครั้งที่ 8

 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 26 ธันวาคม 2556

** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันกีฬาภายใน




วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556

** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นการสอบกลางภาคเรียน


ครั้งที่ 6

 

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษรหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันที่ 12 ธันวาคม 2556

สรุุปบทเรียน
 พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 พัฒนาการ
-การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่าง รวมทั้งตัวบุคคล
-ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีพัฒนาการล้าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าเพียงด้านเดียว
-พัฒนาการล้าช้าด้านหนึ่งอ่จส่งผลกระทบในพัฒนาการด้านอื่นๆ
 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
-ก่อนคลอด
-กระบวนการคลอด
-ด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
 สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
 1. โรคทางพันธุกรรม
 เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
 2. โรคระบบประสาท
 เด็กมีความบกพร่องทางระบบประสาทพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก
 3. การติดเชื้อ
 ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับ ม้าม โต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
 4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
 โครไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
 5. สารเคมี
-ตะกั่ว
-แอลดฮอลล์
-นิโคติน
6. สติปัญญาบกพร่อง
 สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
 มีพัฒนาการล่าช้า



ครั้งที่ 5


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
รหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.

วันที่ 5 ธันวาคม 2556


** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันพ่อ



                                     

ครั้งที่ 4



วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษรหัสวิชา EAED2209
เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2556


สรุปบทเรียน
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า ที่นอน
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-เรียกร้องความสนใจ
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-เรียกย่อๆว่า L.D.
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา การพูด การเขียน
-มีปัญหาทางทักษะคณิตศาสตร์
-ปฎิบัติตามคไสั่งไม่ได้
-เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
-มีปัญหาด้านการอ่านเขียน
-ซุ่มซ่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง
8. เด็กออทิสติก 
-เด็กมีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤิกรรม สังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
-ทักษะภาษา
-ทักษะทางสังคม
-ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
 ลักษณะเด็กออทิสติก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
-ยึดติดวัตถุ
-ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง และใช้เหตุผล
-มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
-ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างกัน
9. เด็กพิการซับซ้อน
-เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่า 1 อย่าง 
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กทั้งหูหนวกและตาบอด

ครั้งที่ 3





วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

รหัสวิชา EAED2209

เวลาเรียน 15.00 - 17.30 น.

วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน 2556



สรุปบทเรียน


4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน

-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป

-มีปัญหาทางระบบประสาท

-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย

2. อาการบกพร่องทางสุขภาพ

1. ด้านร่างกาย

- การเป็นอัมพาตของระบบประสาทสมองพิการหรือผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด

-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า

อาการ

-อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือ ครึ่งซีก

-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ

-อัมพาตการสูญเสียการทรงตัว

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นเสื่อมสลายตัว

-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่

-มีความพิการซ้ำซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคที่เกี่ยวกับกระดูกกล้ามเนื้อ

-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจาก กระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด

-ระบบกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโก่ง กระดูกผุ

โปลิโอ

มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก ไม่มีผลทางสติปัญญา ขาดเกิดที่ขามากกว่าแขน โปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าทางปาก เกิดจากการกินอาหาร เชื้อจะไปเติบโตที่ลำไส้เล็กและส่งผลไปยังกระแสเลือด เด็กจะยืนไม่ได้ หรือปรับสภาพให้ยืนได้ด้วยอุปกรณ์

2. ความบกพร่องทางสุขภาพ

โรคลมชัก

เกิดจากความผิดปกติของสมอง

ลมบ้าหมู

เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อจะเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

*ไม่ควรใช้ช้อนเวลาเกิดอาการชัก

ชักแบบสั้นๆ

-เป็นอาการชักสั้นๆ 5-10 วินาที

-เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก

-เด็กจะนิ่งเฉยหรือสั่นเล็กน้อย

ชักแบบรุนแรง

เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จะหายและนอนหลับชั่วครู่

ชักแบบ Partial Complex

-เกิดอาการเป็นระยะ

-กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา

-บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักจำเหตุการณ์ไม่ได้ และต้องการนอนพัก

อาการแบบไม่รู้ตัว

เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

-ความผิดปกติในเรื่องของการออกเสียง

ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด

-ความผิดปกติด้านเสสียง

-ความผิดปกติทางด้านการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากสภาพสมอง

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. เด็กที่ได้รับความกระทบทางอารมณ์

2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

ผลกระทบที่เกิดกับเด็ก

- เรียนหนังสือไม่ได้เหมือนเด็กปกติ

-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้

-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบับเด็กวัยเดียวกัน

-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกดทางอารมณ์